วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยิ้มสยามสู่ไทยแลนด์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองที่มีผู้คนยิ้มแย้ม แจ่มใส ชาวต่างชาติจึงให้ชื่อว่า
 "สยามเมืองยิ้ม"


อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
  ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ทิศเหนือติดประเทศพม่าและประเทศลาว
- ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย 
- ด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
- ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า

ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[8] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน
ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-34 °C และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
- ร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน
- ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้เป็นฤดูฝน
- ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนเป็นฤดูหนาว
ส่วนภาคใต้มีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน



แผนที่ประเทศไทย

ธงชาติไทย



 เพลงชาติไทย






ประเทศไ ทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ 
 ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล 
 ด้วยไทยล้วนหมาย
รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ
 แต่ถึงรบไม่ขลาด
 เอกราาชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุถกหยาดเป็นชาติพลี 
เถลิงประเทศสชาติไทยทวี มีชัย ชโย







ประเทศไทยแบ่งเป็น 6 ภาคได้แก่





ภาคเหนือ







http://www.damrong.ac.th/soc503/north/north.asp


             ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีเขตแดนทางตอนเหนือติดกับชายแดนพม่าและลาว ทางตะวันออกจรดชายแดนลาวและภาคอีสาน ทางตะวันตกจรดพม่า และทางใต้ติดกับภาคกลาง
            ภูมิประเทศของภาคเหนือเต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณตอนเหนือสุด โดยมีจุดสูงสุดของภาค (และของประเทศ) อยู่ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของภาคนั้นจะมีภาษาไทยที่มีสำเนียงเป็นของตนเองเรียกว่า คำเมือง

ภาคเหนือจะประกอบไปด้วย 9 จังหวัด ได้แก่
  1. เชียงราย    (โยนกเชียงแสน)
  2. เชียงใหม่   (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่)
  3. น่าน           (นันทบุรีศรีนครน่าน)
  4. พะเยา        (ภูกามยาว)
  5. แพร่           (เวียงโกศัย)
  6. แม่ฮ่องสอน
  7. ลำปาง        (เขลางค์นคร)
  8. ลำพูน         (หริภุญชัย)
  9. อุตรดิตถ์     (เมืองพิชัย,เมืองลับแล)
การแต่งกาย


สถานที่ท่องเที่ยว
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร


          วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์


            ดอยอินทนนท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศด้วยความสูง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวันและบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย

วัดพระสิงห์วรวิหาร



            วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร 


 ภาคกลาง





            ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้

ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด (ในกรณีนี้นับรวมกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัดโดยอนุโลม) ได้แก่    
       
              ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ

การแต่งกาย

สถานที่ท่องเที่ยว


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



               วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2327 วัดนี้เป็นวัดพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถ และร ะเบียงรอบวัดมีภาพเขียนฝาผนังสวยงามมาก วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1-9 ตลอดทุกรัชกาลสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ หอพระเทพบิดร (เปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดร ในสมัยรัชกาลที่ 6) พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครวัดจำลอง ฯลฯ พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08 .30-11.30 น. และเวลา 13.00-15.30 น. 


เสาชิงช้า



             เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบัน เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อม าในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัทหลุยส์ ที. เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สัก เพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ซ่อมใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.15 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มีในเดือนยี่ของทุก ๆ ปี เพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อพ.ศ. 2478 นี้เอง

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ





              อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รัฐบาลสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2484 เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไป ในกรณีพิพาทระหว่างไทย กับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่


ภาคตะวันตก 




                ภาคตะวันตก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันตกของประเทศ โดยทั่วไปยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง (ภาคกลางเดิม ที่รวมทั้งภาคตะวันตก และภาคตะวันออกด้วย) แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ใน "ภาคตะวันตก" แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก

ภาคตะวันตกประกอบไปด้วย 5 จังหวัด ดังนี้
  1. ตาก
  2. กาญจนบุรี
  3. ราชบุรี
  4. เพชรบุรี
  5. ประจวบคีรีขันธ์
สถานที่ท่องเที่ยว

 อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม


           อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม  ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดหลวงตำบลวังเย็น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีประมาณ 20 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯไปตามถนนเพชรเกษม จนถึงสี่แยกบางแพลัวไปทางเส้นทางสายบางแพ-ดำเนินสะดวก   

           ภายในอุทยานฯบนเนื้อที่กว้างกว่า 42 ไร่ ธรรมชาติร่มรื่น สามารถเดินชมจุดต่างๆในอุทยานได้อย่างร่มเย็น เช่น อาคารเชิดชูเกียรติจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิครูมนตรี  ตราโมท, ม.ล.ปิ่น  มาลากุล, แม่ชีเทเรซ่า, ประธานาธิบดีเติ้งเสี่ยวผิง, ประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง เป็นต้น,  ลานพระ 3 สมัยเป็นลานแสดงประติมากรรมพระพุทธรูป 3 สมัยหล่อด้วยทองเหลืองและรมดำ, ถ้ำชาดกจัดแสดงเกี่ยวกับพระชาติสุดท้ายของพระเวสสันดรชาดกเนื่องการให้ทาน, กุฏิพระสงฆ์หมู่เรือนไทยเป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งพระสุปัฏิปันโนเลื่องชื่อทั่วไทย, บ้านไทย๔ ภาค, น้ำตกจำลองและลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  

หาดชะอำ


               หาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นจึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และได้พบว่าหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำจึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบัน

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


                 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีพื้นที่ถึง 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ในเขตอำเภอแก่งกระจานอำเภอหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ยังคงสภาพเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯเป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตองอยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่งซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจานมีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ

ภาคอีสาน


                ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง
                ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
               ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ดังนี้




การแต่งกาย





สถานที่ท่องเที่ยว

โบราณสถานเมืองเสมา





               โบราณสถานเมืองเสมา ตั้งอยู่ที่ตำบลเสมาห่างจากนครราชสีมาประมาณ 37 กิโลเมตร จากตลาดอำเภอสูงเนิน เดินทางข้ามลำตะคองและผ่านบ้านหินตั้งไปจนถึงเมืองเสมาเป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรแผนผังเมืองเสมาเป็นรูปไข่กว้าง 3 กิโลเมตร ยาว 4 กิโลเมตรปัจจุบันยังเห็นร่องรอยคูเมืองและกำแพงดินล้อมรอบเป็นบางส่วนเมืองนี้เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 และมีพัฒนาการสืบเนื่องมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมโบราณบริเวณเมืองเสมามีซากโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายหลงเหลืออยู่มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ เป็นจำนวนมาก ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพระนอนหินทรายและธรรมจักรเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดธรรมจักรเสมาราม

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย





               อุทยานประวัติศาสตร์พิมายตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน
               สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม


             ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตรวัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่



ภาคตะวันออก 
               ภาคตะวันออก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลไม้ และอัญมณีของประเทศ
พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขอบเขตจรดภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

ภาคตะวันออกประกอบด้วย 7 จังหวัด ดังนี้
สถานที่ท่องเที่ยว

ประตูชัยอรัญประเทศ


               ประตูชัยอรัญประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา ที่บ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม สร้างในปี พ.ศ. 2482 มีลักษณะเป็นป้อม 2 ป้อม อยู่กันคนละฟากถนน โดยป้อมด้านซ้ายมือรักษารูปลักษณ์เดิมไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารกล้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการสู้รบบริเวณชายแดนด้านคลองลึก
              ตัวป้อมมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า สูงประมาณ 15 เมตร ฐานประตูทำเป็นห้องรักษาการณ์ แต่ชำรุดทรุดโทรมจากภัยสงคราม จึงมีการบูรณะซ่อมแซม เมื่อปี พ.ศ. 2502 สำหรับทางด้านขวามือได้ก่อสร้างเป็นเสมาขนาดใหญ่ทำด้วยหินอ่อนสลักรูปครุฑพ่าห์ (ธงมีรูปครุฑ)ไว้ด้านบน ใต้ครุฑจารึกคำว่า “ประเทศไทย” หันออกไปทางประเทศกัมพูชา

อนุสาวรีย์สุนทรภู่



               อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อนุสาวรีย์นี้เปิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2513 บริเวณอนุสาวรีย์มีรูปปั้นของตัวละครเอกในเรื่องพระอภัยมณีจัดแสดงไว้ด้วย

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว


               อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของอุทยานฯ คือ น้ำตกพลิ้วที่สวยงามมีน้ำตกตลอดปี อยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 1 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ


 ภาคใต้



              ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคตะวันตก (หรือภาคกลางขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งของแต่ละหน่วยงาน) ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง
ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ดังนี้


การแต่งกาย


สถานที่ท่องเที่ยว

 เกาะช้าง


             เกาะช้าง เป็นเกาะขนาดใหญ่ พื้นที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองระนอง 20 กิโลเมตร และห่างจากเกาะพยาม 4 กิโลเมตร บนเกาะมีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 80 ครัวเรือน อาชีพหลัก คือ ทำสวนมะม่วงหิมพานต์ หรือกาหยู ถือเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดของประเทศแห่งหนึ่ง สวนยางพารา และประมงชายฝั่ง มีศูนย์แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกาะช้าง ซึ่งจะผลิตไวน์จากผลกาหยู การแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์อีกด้วย นอกจากนั้น เกาะช้างยังมีนกเงือกพันธุ์เล็ก ที่เรียกกันว่า "นกแก๊ก" จำนวนมากบินไปมาระหว่างเกาะช้างกับเกาะใกล้เคียง ซึ่งชาวบ้านเกาะช้างจะไม่จับหรือยิงนก นกเงือกจึงคุ้นเคยและไม่กลัวคน สามารถหาดูได้ง่าย ยกเว้นเดือนมีนาคม - เมษายน เนืองจากเป็นช่วงที่นกสร้างรังเลี้ยงลูก สำหรับกิจกรรมบนเกาะก็มีหลายประเภท เช่น เดินป่าขึ้นเขาชมวิว ขี่จักรยานรอบเกาะ อบสมุนไพร ที่วัดเกาะช้าง ชมนกเงือก และตกปลา มีปลาหลายชนิด เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง และปลาอินทรี

พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ


            พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่บนเนินเขาในตัวเมืองเบตง บริเวณวัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ลักษณะเจดีย์ก่อสร้างแบบศรีวิชัยประยุกต์ สีทองอร่าม สูง 39.9 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา จากเจดีย์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของวัดและเมืองเบตงอีกมุมหนึ่งได้สวยงาม


น้ำตกสิรินธร


              น้ำตกสิรินธร ลักษณะโดยทั่วไปไม่ใช่น้ำที่ตกมาจากผาสูง หากแต่เป็นลักษณะธารที่ค่อยๆลาดไหลมาจากแนวป่าสูง มีแอ่งน้ำลานหิน นั่งพักผ่อนได้ ธารน้ำตกจะไหลไปรวมที่คลองอัยกาดิง มักจะมีคนท้องถิ่นเข้ามาเที่ยว สิ่งที่ควรชมนอกเหนือจากน้ำตก ก็คือ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับป่าภาคใต้ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการรวบรวมไว้กว่า 200 ชนิด โดยจัดปลูกพรรณไม้ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ตามสภาพธรรมชาติ และมีป้ายบอกชื่อ รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยติดไว้ให้ศึกษา มีความน่าสนใจทั้งในแง่พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน และการนำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ เพื่อพัฒนาเป็นไม้ประดับและพืชเศรษฐกิจ