ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองที่มีผู้คนยิ้มแย้ม แจ่มใส ชาวต่างชาติจึงให้ชื่อว่า
"สยามเมืองยิ้ม"
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ทิศเหนือติดประเทศพม่าและประเทศลาว
- ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย
- ด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
- ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[8] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน
ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-34 °C และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
- ร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน
- ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้เป็นฤดูฝน
- ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนเป็นฤดูหนาว
ส่วนภาคใต้มีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน
- ทิศเหนือติดประเทศพม่าและประเทศลาว
- ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย
- ด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
- ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[8] และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน
ภูมิอากาศของไทยเป็นแบบเขตร้อน หรือแบบสะวันนา มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-34 °C และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปีกว่า 1,500 มิลลิเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
- ร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูร้อน
- ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้เป็นฤดูฝน
- ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนเป็นฤดูหนาว
ส่วนภาคใต้มีสภาพอากาศแบบป่าดงดิบ ซึ่งมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฤดู โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และฝั่งทะเลตะวันตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน
แผนที่ประเทศไทย
ธงชาติไทย
เพลงชาติไทย
ประเทศไ ทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ
เป็นประชารัฐ
ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย
รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ
ไทยนี้รักสงบ
แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราาชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุถกหยาดเป็นชาติพลี
สละเลือดทุถกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศสชาติไทยทวี มีชัย ชโย
ประเทศไทยแบ่งเป็น 6 ภาคได้แก่
ภาคเหนือ
http://www.damrong.ac.th/soc503/north/north.asp
ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีเขตแดนทางตอนเหนือติดกับชายแดนพม่าและลาว ทางตะวันออกจรดชายแดนลาวและภาคอีสาน ทางตะวันตกจรดพม่า และทางใต้ติดกับภาคกลาง
ภูมิประเทศของภาคเหนือเต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณตอนเหนือสุด โดยมีจุดสูงสุดของภาค (และของประเทศ) อยู่ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของภาคนั้นจะมีภาษาไทยที่มีสำเนียงเป็นของตนเองเรียกว่า คำเมือง
ภาคเหนือจะประกอบไปด้วย 9 จังหวัด ได้แก่
- เชียงราย (โยนกเชียงแสน)
- เชียงใหม่ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่)
- น่าน (นันทบุรีศรีนครน่าน)
- พะเยา (ภูกามยาว)
- แพร่ (เวียงโกศัย)
- แม่ฮ่องสอน
- ลำปาง (เขลางค์นคร)
- ลำพูน (หริภุญชัย)
- อุตรดิตถ์ (เมืองพิชัย,เมืองลับแล)
การแต่งกาย
สถานที่ท่องเที่ยว
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศด้วยความสูง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวันและบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย
วัดพระสิงห์วรวิหาร
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ภาคกลาง
ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด (ในกรณีนี้นับรวมกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัดโดยอนุโลม) ได้แก่
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
การแต่งกาย
สถานที่ท่องเที่ยว
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2327 วัดนี้เป็นวัดพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถ และร ะเบียงรอบวัดมีภาพเขียนฝาผนังสวยงามมาก วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1-9 ตลอดทุกรัชกาลสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ หอพระเทพบิดร (เปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดร ในสมัยรัชกาลที่ 6) พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครวัดจำลอง ฯลฯ พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08 .30-11.30 น. และเวลา 13.00-15.30 น. |
เสาชิงช้า
เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบัน เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อม าในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัทหลุยส์ ที. เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สัก เพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ซ่อมใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.15 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มีในเดือนยี่ของทุก ๆ ปี เพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อพ.ศ. 2478 นี้เอง
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ |
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รัฐบาลสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2484 เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไป ในกรณีพิพาทระหว่างไทย กับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่ |
ภาคตะวันตก
ภาคตะวันตก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันตกของประเทศ โดยทั่วไปยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง (ภาคกลางเดิม ที่รวมทั้งภาคตะวันตก และภาคตะวันออกด้วย) แม้ว่าจะจัดรวมอยู่ใน "ภาคตะวันตก" แต่ในภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างมาก
ภาคตะวันตกประกอบไปด้วย 5 จังหวัด ดังนี้
สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดหลวงตำบลวังเย็น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรีประมาณ 20 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯไปตามถนนเพชรเกษม จนถึงสี่แยกบางแพลัวไปทางเส้นทางสายบางแพ-ดำเนินสะดวก
ภายในอุทยานฯบนเนื้อที่กว้างกว่า 42 ไร่ ธรรมชาติร่มรื่น สามารถเดินชมจุดต่างๆในอุทยานได้อย่างร่มเย็น เช่น อาคารเชิดชูเกียรติจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิครูมนตรี ตราโมท, ม.ล.ปิ่น มาลากุล, แม่ชีเทเรซ่า, ประธานาธิบดีเติ้งเสี่ยวผิง, ประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง เป็นต้น, ลานพระ 3 สมัยเป็นลานแสดงประติมากรรมพระพุทธรูป 3 สมัยหล่อด้วยทองเหลืองและรมดำ, ถ้ำชาดกจัดแสดงเกี่ยวกับพระชาติสุดท้ายของพระเวสสันดรชาดกเนื่องการให้ทาน, กุฏิพระสงฆ์หมู่เรือนไทยเป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งพระสุปัฏิปันโนเลื่องชื่อทั่วไทย, บ้านไทย๔ ภาค, น้ำตกจำลองและลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
หาดชะอำ
หาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นจึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และได้พบว่าหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำจึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบัน
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นอุทยานที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยมีพื้นที่ถึง 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.8 ล้านไร่ ในเขตอำเภอแก่งกระจานอำเภอหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ยังคงสภาพเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯเป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตองอยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่งซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจานมีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ
ภาคอีสาน
ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล
ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ดังนี้
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น
ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล
ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ดังนี้
การแต่งกาย
สถานที่ท่องเที่ยว
โบราณสถานเมืองเสมา
โบราณสถานเมืองเสมา ตั้งอยู่ที่ตำบลเสมาห่างจากนครราชสีมาประมาณ 37 กิโลเมตร จากตลาดอำเภอสูงเนิน เดินทางข้ามลำตะคองและผ่านบ้านหินตั้งไปจนถึงเมืองเสมาเป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรแผนผังเมืองเสมาเป็นรูปไข่กว้าง 3 กิโลเมตร ยาว 4 กิโลเมตรปัจจุบันยังเห็นร่องรอยคูเมืองและกำแพงดินล้อมรอบเป็นบางส่วนเมืองนี้เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 และมีพัฒนาการสืบเนื่องมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมโบราณบริเวณเมืองเสมามีซากโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายหลงเหลืออยู่มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ เป็นจำนวนมาก ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพระนอนหินทรายและธรรมจักรเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดธรรมจักรเสมาราม
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อุทยานประวัติศาสตร์พิมายตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม
ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตรวัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่
ภาคตะวันออก
พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขอบเขตจรดภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จรดภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทิศตะวันออก จรดราชอาณาจักรกัมพูชา
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
ภาคตะวันออกประกอบด้วย 7 จังหวัด ดังนี้
สถานที่ท่องเที่ยว
ประตูชัยอรัญประเทศ
ประตูชัยอรัญประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา ที่บ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม สร้างในปี พ.ศ. 2482 มีลักษณะเป็นป้อม 2 ป้อม อยู่กันคนละฟากถนน โดยป้อมด้านซ้ายมือรักษารูปลักษณ์เดิมไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารกล้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการสู้รบบริเวณชายแดนด้านคลองลึก
ตัวป้อมมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า สูงประมาณ 15 เมตร ฐานประตูทำเป็นห้องรักษาการณ์ แต่ชำรุดทรุดโทรมจากภัยสงคราม จึงมีการบูรณะซ่อมแซม เมื่อปี พ.ศ. 2502 สำหรับทางด้านขวามือได้ก่อสร้างเป็นเสมาขนาดใหญ่ทำด้วยหินอ่อนสลักรูปครุฑพ่าห์ (ธงมีรูปครุฑ)ไว้ด้านบน ใต้ครุฑจารึกคำว่า “ประเทศไทย” หันออกไปทางประเทศกัมพูชา
อนุสาวรีย์สุนทรภู่
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อนุสาวรีย์นี้เปิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2513 บริเวณอนุสาวรีย์มีรูปปั้นของตัวละครเอกในเรื่องพระอภัยมณีจัดแสดงไว้ด้วย
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของอุทยานฯ คือ น้ำตกพลิ้วที่สวยงามมีน้ำตกตลอดปี อยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 1 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
ภาคใต้
ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคตะวันตก (หรือภาคกลางขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งของแต่ละหน่วยงาน) ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง
- ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่ทางเหนือสุดของภาคคือ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
- ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
- ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค (และของประเทศไทย) คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
- ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลอันดามัน ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ดังนี้
การแต่งกาย
สถานที่ท่องเที่ยว
เกาะช้าง
เกาะช้าง เป็นเกาะขนาดใหญ่ พื้นที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองระนอง 20 กิโลเมตร และห่างจากเกาะพยาม 4 กิโลเมตร บนเกาะมีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 80 ครัวเรือน อาชีพหลัก คือ ทำสวนมะม่วงหิมพานต์ หรือกาหยู ถือเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดของประเทศแห่งหนึ่ง สวนยางพารา และประมงชายฝั่ง มีศูนย์แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกาะช้าง ซึ่งจะผลิตไวน์จากผลกาหยู การแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์อีกด้วย นอกจากนั้น เกาะช้างยังมีนกเงือกพันธุ์เล็ก ที่เรียกกันว่า "นกแก๊ก" จำนวนมากบินไปมาระหว่างเกาะช้างกับเกาะใกล้เคียง ซึ่งชาวบ้านเกาะช้างจะไม่จับหรือยิงนก นกเงือกจึงคุ้นเคยและไม่กลัวคน สามารถหาดูได้ง่าย ยกเว้นเดือนมีนาคม - เมษายน เนืองจากเป็นช่วงที่นกสร้างรังเลี้ยงลูก สำหรับกิจกรรมบนเกาะก็มีหลายประเภท เช่น เดินป่าขึ้นเขาชมวิว ขี่จักรยานรอบเกาะ อบสมุนไพร ที่วัดเกาะช้าง ชมนกเงือก และตกปลา มีปลาหลายชนิด เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง และปลาอินทรี
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่บนเนินเขาในตัวเมืองเบตง บริเวณวัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ลักษณะเจดีย์ก่อสร้างแบบศรีวิชัยประยุกต์ สีทองอร่าม สูง 39.9 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา จากเจดีย์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของวัดและเมืองเบตงอีกมุมหนึ่งได้สวยงาม
น้ำตกสิรินธร
น้ำตกสิรินธร ลักษณะโดยทั่วไปไม่ใช่น้ำที่ตกมาจากผาสูง หากแต่เป็นลักษณะธารที่ค่อยๆลาดไหลมาจากแนวป่าสูง มีแอ่งน้ำลานหิน นั่งพักผ่อนได้ ธารน้ำตกจะไหลไปรวมที่คลองอัยกาดิง มักจะมีคนท้องถิ่นเข้ามาเที่ยว สิ่งที่ควรชมนอกเหนือจากน้ำตก ก็คือ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับป่าภาคใต้ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการรวบรวมไว้กว่า 200 ชนิด โดยจัดปลูกพรรณไม้ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ตามสภาพธรรมชาติ และมีป้ายบอกชื่อ รวมทั้งประโยชน์ใช้สอยติดไว้ให้ศึกษา มีความน่าสนใจทั้งในแง่พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน และการนำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ เพื่อพัฒนาเป็นไม้ประดับและพืชเศรษฐกิจ
ตาลายมากเลยค่ะ
ตอบลบ