1. ปลาซาร์ดีน อุดมด้วยโอเมก้า 3 ปริมาณสูง โดยผลวิจัยจากสหรัฐฯ พบว่า กรดไขมันดีเอชเอ (DHA) ในโอเมก้า 3 สำคัญต่อการพัฒนาสมองส่วนความจำและการเรียนรู้ ทั้งยังพบว่า กรดไขมันชนิดนี้เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมองถึง 65% ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเอง แต่ได้จากอาหารที่บริโภค เช่น ปลา นอกจากนี้ การรับประทานปลาซาร์ดีนเป็นประจำยังสามารถลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ สำหรับเมนูแนะนำทำง่าย อาทิ ปลาซาร์ดีนผัดซอสมะเขือเทศข้าวผัดปลาซาร์ดีน พาสต้าปลาซาร์ดีน เป็นต้น
2. ไข่ ภายในบรรจุโคลีน สารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์สมอง มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ ซึ่งไข่แดงจัดเป็นอาหารที่ให้โคลีนมากที่สุดชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ ยังช่วยลดการเสื่อมของเซลล์สมองซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ด้วย
3. ข้าวโอ๊ต โดยฟอสฟาติดิลโคลีนที่พบในเลซิติน จะช่วยด้านความจำ นอกจากนี้ ข้าวโอ๊ตยังเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานสูงไขมันต่ำ มีวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยมากช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดทำให้ไม่หิวระหว่างมื้อบ่อย ๆ
4. วอลนัต ประกอบด้วยโปรตีน ไฟเบอร์ รวมทั้งวิตามินบีที่ให้พลังงาน และพัฒนาการทำงานของสมอง ทั้งนี้ ผลวิจัยจากต่างประเทศ พบว่า วอลนัตยังช่วยเพิ่มความสามารถของสมองจากการต้านสารอนุมูลอิสระไม่ให้ทำลายเซลล์สมองได้
5. กล้วย มีวิตามินบี 6 ช่วยให้การสื่อสารระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นประสาทเป็นไปได้สะดวก ทั้งยังช่วยให้สมองผลิตสารเซโรโทนินที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความวิตกกังวลได้
ที่มา : http://www.unigang.com/Article/9760
น.ส. น้ำฝน ยอดพายุ ชั้นม.5/6 เลขที่13
ที่มา : http://www.unigang.com/Article/9760
น.ส. น้ำฝน ยอดพายุ ชั้นม.5/6 เลขที่13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น