วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชนชาติพันธุ์ในออสเตเลีย(อะบอริจิน)

 อะบอริจิน เจ้าถิ่นออสเตรเลีย (Aboriginal)

       เชื่อกันว่า บรรพบุรุษของชาวอะบอริจิน อพยพมาจากอินโดนีเซีย มาตั้งถิ่นฐานที่ทวีปออสเตรเลียเมื่อห้าพันกว่าปีที่ผ่านมา ชาวอะบอริจินอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มครอบครัวขยาย คือมีบรรพบุรุษร่วมกัน และมีขนบประเพณีที่เชื่อมโยงกันระหว่างคนและดินแดนที่อาศัย
       มีความเชื่อถือในเรื่อง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ชาวอะบอริจินเชื่อว่า เป็นสถานที่ที่วิญญาณจะเดินทางกลับไปอยู่หลังจากตายไปแล้ว ซึ่งลูก หลาน หรือสมาชิกในครอบครัวที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะประกอบพิธีกรรมแสดงความเคารพ  เพื่อเป็นเกียรติแก่วิญญาณบรรพบุรุษ มีความเชื่อว่า วิญญาณของบรรพบุรุษจะคอยคุ้มครอง ปกป้องรักษาเผ่าของตนสืบไป ไม่ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติ หรือโรคภัยที่ลึกลับ
       ชาวอะบอริจินมีหลากหลายเผ่า บ้างก็ตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นหลักแหล่ง บ้างก็ดำรงชีวิตตล้ายกลุ่มชนเร่ร่อน บทบาทของฝ่ายชาย คือ การเป็นนักล่า และพิทักษ์รักษากฎหมายของฝ่ายชาย ส่วนฝ่ายหญิงจะคอยดูแล เลี้ยงดูเด็ก หุงหาอาหาร ซึ่งฝ่ายหญิงก็จะมีกฎและพิธีกรรมเฉพาะของตนเช่นกัน
       ชาวอะบอริจินรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มต่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ และฤดูกาลของพืชชนิดต่างๆ ไม่ล่าสัตว์หรือเก็บเกี่ยวพืชผลจนถึงขนาดที่จะนำไปสู่การสูญพันธุ์ นับได้ว่าชาวอะบอริจินเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติโดยแท้ ชาวอะบอริจินยุคแรกมีการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าเช่นเดียวกัน บูมเมอแรงและดินเหลือง นับเป็นสินค้าที่สำคัญ ก้อนหินหรือเปลือกหอยที่หายากและมีความสำคัญทางพิธีกรรม ก็เป็นอีกอย่างที่มีการแลกเปลี่ยนกัน


ชนเผ่าพื้นเมือง ออสเตรเลีย



         เมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้วที่คนขาวเข้ามาตั้งรกรากที่อ่าวซิดนีย์เป็นครั้งแรก มีชาวอะบอริจินอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย กว่า 300,000 คน และมีภาษาพูดกว่า 250 ภาษา ซึ่งบางภาษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เฉพาะในเกาะทัสมาเนียมีภาษาต่างกันถึง 8 ภาษา ขณะที่เผ่าที่เคยอาศัยอยู่สองฟากอ่าวซิดนีย์ก็ใช้ภาษาที่แตกต่างกัน สื่อสารไม่เป็นที่เข้าใจซึ่งกันและกัน จากสภาพสังคมเช่นนี้ทำให้การประสานงานเพื่อตอบโต้ลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกย่อมเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นชาวยุโรปที่เดินทางมาถึง จึงขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่า “Terra Nullius” หมายถึง ดินแดนที่ไร้ผู้คน ไม่ใยดีกับการอาศัยอยู่ของชาวอะบิริจินแม้แต่น้อย มองว่าชาวอะบอริจินไม่มีระบบการปกครองที่เด่นชัด ไม่มีระบบตลาด ไม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร และไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้นเมื่อฟิลิปส์ ผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์อังกฤษ เชิญธงชาติอังกฤษขึ้นสู่ยอดเสาที่อ่าวซิดนีย์เมื่อปี ค.ศ.1788 กฎหมายของอังกฤษก็ได้กลายมาเป็นกฎหมายที่ใข้ในการปกครองชาวอะบอริจินทั่วทวีปออสเครเลีย  และนับแต่นั้น ที่ดินในออสเตรเลียก็กลายเป็นทรัพย์สินของราชวงศ์อังกฤษ ชาวอะบอริจินกลายเป็นผู้ถูกขับไล่ เนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิเหนือดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ บ้างถูกใช้กำลังขับไล่ บ้างเสียชีวิตด้วยโรคร้ายจากแดนไกล บ้างสมัครใจทื้งถิ่นฐานของตนเดินทางออกไปสู่รอบนอก มีหลายคนที่ลุกฮือต่อต้านการเข้ามาของพวกผิวขาว อาทิเช่น Pemulwy, Yagan, Dundalli, Pigeon และNemaruk แม้ว่าการตั้งถิ่นฐานในบางพื้นที่จะถูกขับไล่ แต่ผลของการต่อต้านเหล่านั้นก็เป็นได้เพียงการยืดระยะเวลาออกไปเท่านั้น


       ช่วงทศวรรษที่ 1900 ได้ที่การผ่านกฎหมายเพื่อการแยกและ ปกป้องชาวอะบอริจินในทุกรัฐ กฎหมายดังกล่าวเน้นที่การจำกัดสิทธิในการครอบครองที่ดิน และรับจ้างงานของชาวอะบอริจิน                 กฎหมาย Aboriginals Ordinance ที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ.1918 ถึงขนาดให้สิทธิรัฐในการแยกลูกจากแม่ชาวอะบอริจิน หากมีข้อสงสัยว่าพ่อของเด็กไม่ใช่ชาวอะบอริจิน ในกรณีเช่นนี้ผู้ปกครองจะไม่มีสิทธิเหนือลูกของตน เด้กจะถูกส่งไปอยู่สถานเลี้ยงเด็กโดยเฉพาะ    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น การดูดกลืนได้กลายมาเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล
สิทธิของชาวอะบอริจินก็ยิ่งถูกริดรอนมากขึ้น รัฐบาลเข้ามาควบคุมในทุกๆด้าน ในปีคศ. 1960
ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายดูดกลืนเป็นอย่างมาก




ชาวออสเตรเลียผิวขาวจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมกัน ที่เลือกปฏิบัติต่อชาวอะบอริจิน ในปี ค.ศ.1967  ชาวออสเตรเลียที่ไม่ใช่ชาวอะบอริจินได้ร่วมกันลงคะแนนสนับสนุนให้มีการให้สถานภาพความเป็นพลเมืองแก่ชาวอะบอริจินและคนพื้นเมืองของหมู่เกาะในช่องแคบ Torres  และให้อำนาจแก่รัฐบาลของเครือจักรภพในการออกกฎหมายดังกล่าวในทุกรัฐ โดยรัฐจะต้องให้บริการแก่ชาวอะบอริจิน
เช่นเดียวกับพลเมืองอื่นๆทุกประการในปี ค.ศ.1972 นโยบายดูดกลืนถูกทดแทนด้วยนโยบายของรัฐที่เปิดโอกาสเป็นครั้งแรกให้ชาวอะบอริจินมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในปี ค.ศ.1992 ศาลสูงได้ออกประกาศชื่อ Mabo Ruling  ให้การรับรองว่าชาวอะบอริจินมีสิทธิที่จะอ้างความเป็นเจ้าของเหนือดินแดน
ที่อยู่ภายใต้การครอบครองของราชวงศ์อังกฤษมาโดยต่อเนื่อง ต่อมาในปี ค.ศ.1993รัฐบาลสาธารณรัฐได้นำประกาศดังกล่าวม่ปฏิบัติโดยการออกกฎหมาย Native Title ภายใต้การยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อรองเหนือดินแดนระหว่างชาวอะบอริจินกับกลุ่มอื่นอย่างยุติธรรมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย.


ขอขอบคุณที่มาจาก : http://plan-travel.com/tour/australia/Aboriginal.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น